Learning log 8
(บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 )
Monday 23 September 2019 (วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ.2562)
Time: 8.30-12.30 pm.

กลุ่มที่ 5
💢เรื่อง .... EF (Executive Function)💢
💢เรื่อง .... การสอนแบบโครงการ (Project Approach)💢
Teacher : อาจารย์จะมีคำเเนะนำต่างๆเเละคำปรึกษาที่ดีให้เเก่นักศึกษาเสมอเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำวิธีการสอนต่างๆที่ได้รับไปสอนได้อย่างถูกต้อง

➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษามาเรียนรวมกันทั้ง 2 เซค เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการสอน ของเเต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้
กลุ่มที่ 5
💢เรื่อง .... EF (Executive Function)💢
ความหมาย
E F = ( Executive Function ) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ
ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จใน โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive process) ต่างๆ
เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย
การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) เช่น
มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์
และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน
EF ( Executive Function )
ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working
Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory
Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก"
อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift
Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ
มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ
ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว
และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง
รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ
ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว
ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning
and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย
การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น
ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed
Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย
เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ
ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
💢เรื่อง .... EF (Executive Function)💢
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
กลุ่มที่ 6
💢เรื่อง .... EF (Executive Function)💢
Executive Functions คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า”
- เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ
เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ
- โดยในช่วงวัย 3-6
ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก ในช่วงนี้สมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุด
และหากพ้นจากช่วงเวลานี้ไป แม้ทักษะ EF จะยังมีการพัฒนาต่อได้
แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงในปฐมวัย
ซึ่งทักษะ EF นั้น
จะช่วยกำกับพฤติกรรมและอารมณ์ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผน
และจัดการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ดี
- จากการติดตาม EF ระยะยาวตั้งแต่อายุ
6-15 ปี
- พบว่าความจำใช้งานเริ่มชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่อายุ
6-12 ปี
- ในขณะที่ความยืดหยุ่นในการคิดวิเคราะห์จะมากขึ้นเรื่อยๆ
- ระหว่างอายุ
12-15 ปี การควบคุมยับยั้งจะสำคัญที่สุดและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ของ EF
➤ส่งผลให้มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ
➤รู้จักการวิเคราะห์
มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้
➤เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น
มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ
ข้อจำกัดของ EF
💢ถ้าลูกขาดทักษะทางด้าน
EF จะส่งผลทำให้เด็ก
➤ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก
➤ปรับตัวไม่ได้
อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
➤อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง
เศร้าเสียใจยาวนาน
➤มีปัญหาในการเข้าสังคม
➤มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ
➤มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต
เช่น เรียนไม่จบ หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
➤เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง เช่น สมาธิสั้น หรืออัลไซเมอร์
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
กลุ่มที่ 7
💢เรื่อง .... การสอนแบบโครงการ (Project Approach)💢
Project
Approach
เป็นวิธีการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กเพื่อเตรียมพร้อมสู่ศตวรรษที่
21 และ ศตวรรษต่อๆไป Project Approach ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง
สอนให้เด็กรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to Learn) ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไปได้ตลอดชีวิต
และยังสอนวิธีการคิดรูปแบบต่างๆ (Learning to Think) ให้แก่เด็กอีกด้วย
ทำให้เด็กสามารถพิจารณาข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล นำข้อมูลมาเปรียบเทียบวิเคราะห์
สังเคราะห์ พิจารณาถึงความถูกต้องและประโยชน์ได้ตามวัย การเรียนรู้แบบ Project
Approach บูรณาการวิชาต่างๆให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีความหมายและเป็นที่สนใจของเด็ก
ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา
หรือประวัติศาสตร์ การเรียนรู้แบบ Project Approach เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในวงการการศึกษาในหลายประเทศทั่วโลกว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
(Brain Based Learning) อย่างมาก
วิธีจัดการเรียนการสอนมี
4 ระยะ คือ
ระยะที่
1 เริ่มต้นโครงการ
เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่
2 ระยะวางแผนโครงการ
เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่
3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา
จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ
เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา
พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้
ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ
เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ
เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่
วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา
หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
💢การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้
➤เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง
เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
➤ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
➤เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
➤เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร
และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
➤เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข
สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้
➤ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
➤สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
➤สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว
เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่
ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือ
➤กับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
กลุ่มที่ 8
💢เรื่อง .... การสอนแบบสะเต็ม(STEM)💢
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน
4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ
กับชีวิตจริงและการทำงาน
การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม
แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ
พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5
ประการได้แก่
1. เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
2. ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง
4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
4. ท้าทายความคิดของนักเรียน
5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น
และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา
จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
กลุ่มที่ 9
💢เรื่อง...การสอนเเบบมอนเตสซอรี่(Montessori Method)💢
การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ
และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้
อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน
การสอนแบบมอนเตสซอรี่
เริ่มจากการสังเกต
ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน
การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ
แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ
ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน
ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น
การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน
สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล
เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส
การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
กลุ่มที่ 10
💢เรื่อง...การสอนเเบบมอนเตสซอรี่(Montessori Method)💢
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น
จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน
ให้คำปรึกษา และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
โดยใช้จิตซึมซับกับสิ่งแวดล้อม
และคำนึงถึงความสนใจความต้องการของเด็กในการเรียนรู้ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล
และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยจะจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
ที่ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง
หลักการที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
(Montessori)
สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คุณครูต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็ก
ปลูกฝังให้เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการตามธรรมชาติ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
รอบตัวได้อย่างอิสระ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เชื่อว่า
การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตัวเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ เด็กจะได้รับอิสระในขอบเขตที่ได้จัดเตรียมไว้
เมื่อเด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการ จะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ
มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อม
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
กลุ่มที่ 11
💢เรื่อง .... ไฮสโคป (High Scope)💢
การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป (High
Scope) นั้น
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย
ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย
โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง
มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory) ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา
ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ
ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive
process of learning) ผ่านการกระทำของตน
และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน
หัวใจของไฮ/สโคป
หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่
1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ
โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน
เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร
การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้
ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง
ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
2. การปฏิบัติ (Do) คือ
การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด
โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย
ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ
มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน
3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ
เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ
รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
👩รูปภาพการนำเสนอ👩
➤Assessment (การประเมิน)
Teacher : อาจารย์จะมีคำเเนะนำต่างๆเเละคำปรึกษาที่ดีให้เเก่นักศึกษาเสมอเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำวิธีการสอนต่างๆที่ได้รับไปสอนได้อย่างถูกต้อง
Friend : เพื่อนๆตั้งใจเพื่อนที่ออกมานำเสนอ เเละมีการจดบันทึกเพิ่มเติม
Self : ตั้งใจในสิ่งที่เพื่อนๆออกมานำเสนอเป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น