วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning log 18

(บันทึกการเรียนครั้งที่ 18 )

Monday 28  November  2019  (วันจันทร์ที่  28  พฤศจิกายน พ.ศ.2562)  
 Time: 13.30-17.30 pm.



➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

                   วันนี้เป็นการสอบสอนสำหรับนักศึกษาที่เหลือเเละนักศึกษาที่ได้ปรับเเก้ ดังนี้


ภาพการสอบสอน


นางสาวปรางทอง  สุริวงษ์
หน่วย ผัก
ส่วนที่ปรับเเก้:  ตั้งคำถามเพื่อให้เด็กตอบได้ตรงกับสาระการเรียนรู้ตามเเผน



นางสาวชนนิกานต์  วัฒนา
หน่วย กลางวัน  กลางคืน

ส่วนที่ปรับเเก้:  ปรับเปลี่ยนคำคล้องจองให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน


นางสาวสุชัญญา  บุญญะบุตร
หน่วย ร่างกายของฉัน

ส่วนที่ปรับเเก้:  เพิ่มเติมการเขียนเเผนการสอนให้ละเอียด เเละเพิ่มขนาดรูป



นางสาวอุไรพร   พวกดี
หน่วย ฝน
ส่วนที่ปรับเเก้: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยที่สอนให้มากกว่านี้


นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์
หน่วย ฝน
ส่วนที่ปรับเเก้:  ควรเปิดประสบการณ์ของเด็กโดยอาจจะถามเกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆที่สามรถนำมากันฝนได้


นางสาวรัติยากร  ศาลาฤทธิ์
หน่วย ความลับของสีดำ 

ส่วนที่ปรับเเก้: ควรนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการทดลอง

นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง
หน่วย  ต้นไม้

ส่วนที่ปรับเเก้:  ไม่มีข้อปรับเเก้



นางสาวอภิชญา  โมคมูล
หน่วย ไข่
ส่วนที่ปรับเเก้:  ให้เด็กได้ลองเปรียบเทียบลักษณะของไข่เเละรูปร่างลักษณะของไข่ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มากกว่านี้


➤Assessment (การประเมิน)



Teacher : อาจารย์มีข้อเสนอเเนะเเละวิธีปรับเเก้ที่ดีให้เเก่นักศึกษา


Friend : เพื่อนๆตั้งใจดูเพื่อนสอบสอน

Self : เตรียมตัวในการสอบสอนอย่างดี




Learning log 17

(บันทึกการเรียนครั้งที่ 17 )

Monday 25  November  2019  (วันจันทร์ที่  25  พฤศจิกายน พ.ศ.2562)  
 Time: 13.30-17.30 pm.



➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

                      วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเเต่ละคนออกมาสอบสอนในหน่วยที่ตนเองเองเลือก เพื่อดูวิธีเเละเทคนิคการสอนของเเต่ละคน พร้อมวิธีการปรับเเก้วิธีการสอนเเละสื่อที่สอนให้เหมาะเเละถูกต้องก่อนออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภายภาคหน้า 


ภาพการสอบสอน


นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ




นางสาวกฤษณา   กบขุนทด
หน่วย ของเล่นเเละของใช้


นางสาวขนิษฐา  สมานมิตร

หน่วย นม


นางสาวรัตนา  พงษา
หน่วย ครอบครัว

นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง
หน่วย ต้นไม้

นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ
หน่วย ภูเขาไฟระเบิด

➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์มีข้อเสนอเเนะเเละวิธีปรับเเก้ที่ดีให้เเก่นักศึกษา

Friend : เพื่อนๆตั้งใจดูเพื่อนสอบสอน

Self : เตรียมตัวในการสอบสอนอย่างดี





Learning log 16

(บันทึกการเรียนครั้งที่ 16 )

Monday 18  November  2019  (วันจันทร์ที่  18  พฤศจิกายน พ.ศ.2562)  
 Time: 13.30-17.30 pm.



➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

Activities:   อาจารย์มีกิจกรรมก่อนเริ่มการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ทำร่วมกัน โดยการปรบมือตามจังหวะเพลง เเละทำท่าทางประกอบตามความคิดของตนเองโดยการทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่เเละหลังจากนั้นอาจารย์จึงให้นักศึกษาเเบ่งกลุ่มเเละให้ตัวเเทนเพื่อนออกมาเเสดงท่าทาง เเละให้เพื่อนที่เหลือทำท่าทางตามเพื่อนที่เป็นผู้นำ เเละเดินต่อเเถวปรบมือตามจังหวะเพลงเรื่อยจนเพลงหยุดให้นักศึกษาทำท่าทางให้เพื่อนคนต่อไปทำตาม เมื่อทำเสร็จเเล้วให้มาต่อในเเถวเเละทำอย่างนี้ไปเรื่อยจนครบทุกคน ดังนี้👇


บรรยากาศการทำกิจกรรม









Activities: หลังจากทำกิจกรรมเเรกเสร็จอาจารย์จึงให้นักศึกษานั่งเป็นวงกลม เเละเเจกอุปกรณ์การเคาะให้นักศึกษาคนละ 1 อัน เเละให้นักศึกษาเคาะตามจังหวะเพลงเเละคำสั่งตามสิ่งที่อาจารย์ให้เคาะ ดังนี้👇

บรรยากาศการทำกิจกรรม




#

ทักษะ EF  (Executive Functions)

               ทักษะ EF หรือ Executive Functions ทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


ฝึกทักษะ Executive Functions (EF)

                 ทักษะ EF หรือ Executive Functions มีทั้งหมด 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นทักษะพื้นฐาน (Basic) 3 ด้าน และทักษะสูง (Advance) 6 ด้าน ได้แก่

💓ทักษะพื้นฐาน (Basic) ประกอบไปด้วย💓

1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ

2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) คือ ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูดได้

3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นทางความคิด ร่วมแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ 

💓ทักษะสูง (Advance) ประกอบไปด้วย💓

4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก รู้จักการทำงานให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป

5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์) คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ตนเองไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายเกินไป รู้จักแสดงอารมณ์อย่างถูกวิธี

6) Self - Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) คือ การประเมินตนเองเพื่อหาจุดบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น รู้จักไตร่ตรองว่าตัวเองทำอะไร รู้ว่าตัวเองทำอะไร และรู้ว่าใกล้จะเสร็จหรือเรียบร้อยแล้ว

7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ลงมือทำทันที ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) คือ การวางแผนจัดการตนเองอย่างเป็นขั้นตอน ดำเนินการตั้งแต่วางเป้าหมาย มองเห็นภาพรวม รู้จักจัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ ดำเนินการ และประเมินผล

9) Goal - Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย) คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย รู้จักฝ่าฟันอุปสรรค หากล้มต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ไฮสโคป (High Scope)


            ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง

แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) 

💓ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ💓

1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง

3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง



➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์จะมีกิจกรรมที่หลากหลายให้เเก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์มากยิ่งขึ้น

Friend : เพื่อนๆร่วมกันทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 

Self : ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ




Learning log 15

(บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 )

Monday 11  November  2019  (วันจันทร์ที่  11  พฤศจิกายน พ.ศ.2562)  
 Time: 13.30-17.30 pm.


➤Knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)

              วันนี้อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาร่วมกันจัดห้องปฏิบัติการปฐมวัย เพื่อให้มีระเบียบน่าเรียนเเละเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศการจัดห้องเรียน💔




➤Assessment (การประเมิน)


Teacher : อาจารย์จะมีกิจกรรมที่หลากหลายให้เเก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์มากยิ่งขึ้น

Friend : เพื่อนๆร่วมกันทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ เเละมีความสามัคคี

Self : ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ




Learning log 14

(บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 )

Monday 4  November  2019  (วันจันทร์ที่  4  พฤศจิกายน พ.ศ.2562)  
 Time: 13.30-17.30 pm.


                 ทางมหาวิทยาลัยประกาศเป็นวันหยุดพิเศษจึงไม่มีการจัดการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นประชุมสุดยอดอาเซียน